วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

construct 2 : ยิงปืนใหญ่แบบโพรเจกไทล์


เกมยิงปืนใหญ่ เป็นเกมที่คลาสสิคมากในสมัยก่อน แต่เป็นเกมที่ฝึกสมองอย่างหนึ่ง บางทีก็อาจช่วยในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์อีกด้วยครับ แต่ที่จะนำเสนอวันนี้ คือ การกำหนดค่ามุมและความเร็วของกระสุนปืนที่ยิงไป ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดการเล่นเกม

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์  เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยมีแนวการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง  ตัวอย่าง : การเคลื่อนที่ของลูกธนู กระสุนปืนใหญ่ การเคลื่อนที่ของลูกเทนนิส การเคลื่อนที่ของลูกบอลที่ถูกเตะโด่ง

ลงมือสร้างเกมกันเลย สร้างโปรเจคใหม่ขึ้นมา  กำหนดขนาด window size เท่ากับ 800, 480  และ layout size เท่ากับ 800, 480
แทรกพื้นดินสำหรับตั้งปืนใหญ่ กำหนดคุณสมบัติเป็นแบบ solid อาจจะเพิ่มฉากหลังด้วยก็ได้นะครับ เพื่อความสวยงามของเกม




แทรกวัตถุปืนใหญ่ แบบ sprite เข้ามาในเกม โดยกำหนด image point 1 ที่ปลายกระบอกปืน แล้วนำมาลงในเกมที่ตำแหน่งมุมด้านขวา



ต่อไปสร้างกระสุนปืนใหญ่ ด้วยการแทรกวัตถุแบบ sprite เข้ามาในเกม ตั้งชื่อเป็น bullet และกำหนดพฤติกรรม behaviorsแบบ bullet โดยกำหนดให้ gravity = 20  กำหนด size เป็น 15,15 และวางไว้นอกพื้นที่เกม



เพิ่ม slider bar เข้ามาในเกม เพื่อใช้ปรับความเร็วของกระสุน โดยตั้งชื่อว่า speedbar กำหนด property ดังนี้
value = 100 กำหนดค่าเริ่มต้นของ slider bar
minimum =0 กำหนดค่าต่ำสุดของ slider bar
maximum = 150 กำหนดค่าสูงสุดของ slider bar
step = 5 กำหนดค่าช่วงข้อมูลของ slider bar
เพิ่ม slider bar เข้ามาในเกมอีกหนึ่งตัว เพื่อใช้ปรับมุมของปืนใหญ่ โดยตั้งชื่อว่า anglebar กำหนด property ดังนี้
value = 300 กำหนดค่าเริ่มต้นของ slider bar
minimum =270 กำหนดค่าต่ำสุดของ slider bar
maximum = 360 กำหนดค่าสูงสุดของ slider bar
step = 1 กำหนดค่าช่วงข้อมูลของ slider bar
จัดวาง และเพิ่ม text เพื่อความสวยงาม



เพิ่มวัตถุแบบ Mouse เข้ามาในเกม เพื่อใช้ควบคุมการทำงานและยิงกระสุนปืน
กำหนดคำสั่งสำหรับการทำงาน ดังนี้



ทดสอบการเล่นเกม จะพบว่า เมื่อเราปรับความเร็วของกระสุนหรือปรับมุมในการยิงของปืนใหญ่ ระยะที่กระสุนพุ่งไปจะแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ หลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างเกมได้หลากหลาย ของให้สนุกกับการสร้างเกมนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น