วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของโปรแกรม Construct 2

หลังจากที่ลงมือติดตั้งโปรแกรมไปแล้ว ต่อไปจะขอแนะนำส่วนประกอบของโปรแกรม construct 2 กันก่อนที่เราจะลงมือเขียนเกม เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว

เมื่อเราเปิดโปรแกรม construct 2 ขึ้นมา หน้าตาของโปรแกรม construct 2 สำหรับเวอร์ชันฟรี ก็จะแสดงหน้า Free Edition เพื่อให้เราได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ แต่ตอนนี้คลิกปิดไปก่อนครับ


สำหรับส่วนต่างๆ ของโปรแกรม construct 2 นั้นจะแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก ที่ได้ใช้งานบ่อย ๆ คือ
1. ส่วนของแถบคำสั่ง และแถบเครื่องมือ
ในส่วนนี้จะรวบรวมคำสั่งในการทำงานต่าง ๆ เอาไว้ให้เรียกใช้งานได้อย่างสะดวก และมีแถบริบบอนของเครื่องมือที่ต้องใช้งานบ่อย ๆ ส่วนเครื่องมืออะไร ทำงานอย่างไร เดี๋ยวจะแนะนำในครั้งต่อไป


2. ส่วนของแถบ Properties
ในส่วนนี้จะเป็นการกำหนดคุณสมบัติของวัตถุและส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเกมที่เราสร้างขึ้น


3. ส่วนของแถบ Project
ส่วนนี้จะเป็นการกำหนดทรัพยากรของโปรเจคเกมที่เราสร้างขึ้น เช่น ฉากต่าง ๆ (Layouts) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Event sheets) เสียงประกอบ ดนตรีประกอบ เป็นต้น


4. ส่วนของแถบ Layers
ส่วนนี้จะเป็นการกำหนดชั้นของ Layer ที่วางซ้อนทับกันภายในเกม ทำให้วัตถุต่าง ๆ ในเกม มีความเป็นอิสระต่อกัน เปรียบเหมือนแผ่นใสที่ซ้อนกันอยู่ ซึ่ง Layer ที่มีลำดับ 0 จะเป็นแผ่นที่อยู่หลังสุด


5. ส่วนของพื้นที่ของเกมและแผ่นเหตุการณ์
ในส่วนนี้จะใช้ในการออกแบบ จัดวางองค์ประกอบของเกม เมื่อเราออกแบบตัวเกมเป็นอย่างไร เมื่อสั่งให้เกมทำงานก็จะมีหน้าตาเหมือนกับที่เราได้ออกแบบไว้ในส่วนนี้


ส่วนประกอบที่สำคัญของโปรแกรม construct 2 ก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วค่อยมาเรียนรู้การใช้งานแบบ step by step ด้วยตัวอย่างเกมง่าย ๆ ที่จะได้นำเสนอต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น